วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


ทดสอบปลายภาค

1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
ความหมายของแท็บเล็ต
        แท็บเล็ต ( Tablet )  เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ( Touch-screen )ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android IOS และ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G หรือความหมายอีกในหนึ่งคือของแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆ
แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
      เทคโนโลยีสื่อต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากในการพัฒนาการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนของสังคมยุคใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายในการส่งเสริมเทคโนโลยีการศึกษาไทย เพื่อให้การศึกษาไทยทัดเทียมกับนานาชาติ การใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาของประเทศไทยจะทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะแท็บเล็ตมีศักยภาพหลายอย่างที่เหมาะจะนำมาใช้ในการจัดการศึกษา แต่อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มีหลักสูตรที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตมากหนักผู้จัดการเรียนการสอนจึงควรปรับแผนการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนด้วยแท็บเล็ต จึงจะทำให้การจัดการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตมีคุณภาพตามนโยบายของรัฐบาล และนอกจากนี้แล้วครูผู้สอนควรมีความรู้ด้านสื่อเทคโนโลยีดีพอสมควร
ที่มา

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
สมาคมอาเซียน 
     อาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
 จุดประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน
1.  ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
2.  รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
3.  จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
4.  ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน
       ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียน ไทยมีบทบาทสำคัญในสมาคมอาเซียนมาตลอดได้ผลักดันโครงการความร่วมมือต่างๆของสมาคมอาเซียนให้สอดคล้องและทันต่อสถานการณ์ สภาพแวดล้อมของสังคมโลก เช่น การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้อาเซียนมีอำนาจต่อรองกับประเทศภูมิภาคอื่นมากยิ่งขึ้น ด้านเศรษฐกิจไทยยังได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น เป็นผลดีให้แก่ประเทศไทยและประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน มีความสัมพันธ์กับประเทศไทย ดังนี้
1. ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้า ด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร
2. ด้านอุตสาหกรรม ไทยได้รับสิทธิในการผลิตเกลือหิน และโซดาแอช ตัวถังรถยนต์
3. ด้านการธนาคาร จัดตั้งบรรษัทการเงินของอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน
4. ด้านการเกษตร การสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โครงการปลูกป่า
5. ด้านการเมือง สมาชิกของอาเซียนช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ
6. ด้านวัฒนธรรม มีโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ทำให้แต่ละประเทศมีความเข้าใจดีต่อกัน
การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู้ประชาคอมอาเซียน
      การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู้ประชาคมอาเซียนเราจะต้องมีความพร้อมทางด้านภาษาเพราะภาษาเป็นปัจจัยหลักในการติดต่อสื่อสารดำเนินกิจการต่างๆ มีความรู้ทางด้านสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยทันกับสภาพยุคสังคมที่เปลี่ยนไป ถ้าเรามีความพร้อมในด้านนี้การที่เราจะศึกษาต่อหรือเป็นครูในกลุ่มประเทศก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น นอกจากนี้เรายังจะต้องเป็นบุคคลที่ทันต่อข่าวสารเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้าน การเมือง สังคม เศรษฐกิจ ติดตามข่าวเกี่ยวกับความร่วมมือ ข้อตกลง การประชุมของสมาคมอาเซียน ประเทศเพื่อนบ้านประเทศสมาชิก

ที่มา

3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
     ครูที่จะเป็นทั้งครูผู้สอนและครูที่มีภาวะเป็นผู้นำได้ จะต้องเป็นครูที่มีความรักและศรัทธาต่อความเป็นครู มีคิดริเริ่มสร้างสรรค์พัฒนาตนเองอยู่เสมอให้ทันต่อโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ต้องหาหนังสือดีๆ มาอ่าน มีการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยสร้างสรรค์ มีใจที่กว้างยอมรับในความแต่งต่างของบุคคลอื่น ต้องรู้จักไว้ใจผู้อื่น มีแรงบันดาลใจในตัวเอง มีพัฒนาการในการสอนที่ดีไม่จมอยู่กับอดีตแต่มองไปที่ปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า เป็นครูที่หาข้อมูลเกี่ยวกับการสอนตัวเด็กเพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจัดการเรียนการสอนจึ่งต้องให้เหมาะแก่เด็กแต่ละคน และในการจัดการเรียนการสอนก็จะต้องให้เด็กแสดงออกมีความกล้าที่จะทำในสิ่งดีๆ มีเทคนิคการสอนที่ทันสมัยทันต่อเทคโนโลยีจนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนครูด้วยกันจึงจะเป็นครูที่มีภาวะผู้นำด้านการสอนและความเป็นครู

 4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้อง
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน 
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน 
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น 
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
 4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความซื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
      การเรียนด้วยบล็อกเป็นการเรียนรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยเหมาะกับสังคมเทคโนโลยีสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนนั้นยอมรับได้ว่าสื่อเทคโนโลยีมีความสำคัญ ที่ช่วยในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การเรียนด้วยบล็อกจึ่งเป็นการเรียนรูปแบบใหม่ที่เหมาะกับสังคมโลกปัจจุบัน และเป็นแนวการสอนแบบใหม่ที่มีความสร้างสรรค์ไม่เหมือนใคร ซึ่งการเรียนการสอนแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนมีความคิดที่เปิดกว้างได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ไม่ปิดกั้นความคิดของผู้เรียน ผู้เรียนได้หาความรู้ด้วยตนเอง เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนด้วยบล็อกไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ นำไปต่อยอดในการเรียนขั้นที่สูงกว่าต่อไปรวมถึงมีประโยชน์ในการที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพครูในวันข้างหน้าได้อีกด้วย ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้วิชานี้ควรจะได้เกรดA
      เกรดที่ควรได้ในวิชานี้คือเกรด A เพราะ มีความพยายามอย่างมากในวิชานี้เพราะเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ไม่เคยเรียนมาก่อนในการเรียนวิชานี้จึ่งต้องมีความพยายาม สิ่งใดที่ไม่เข้าใจก็จะถามเพื่อนถามอาจารย์ว่าทำอย่างไรอยู่เสมอ และพยายามจนเกิดความสำเร็จทุกครั้งไป ในการมาเรียนก็ขาดเรียนเพียงแค่ครั้งเดียวเนื่องจากมีความจำเป็นบางประการ นอกนั้นก็มาเข้าเรียนครบตรงตามเวลาทุกครั้ง งานที่อาจารย์สั่งก็ทำส่งในบล็อกทุกครั้งด้วยความคิดเห็นความสามารถของตนเองไม่ใช่ความคิดเห็นของผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นความจริง

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9

ลักษณะของห้องเรียนที่ดี

              การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน  หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

ลักษณะของการจัดการชั้นเรียนที่ดี
       1. การจัดวางวัสดุควร จัดวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น ครุภัณฑ์ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัยและพัฒนาการ เพื่อให้เด็กสามารถใช้หรือทำกิจกรรมได้สะดวกด้วยตนเอง โดย วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น และครุภัณฑ์ ที่จัดให้สำหรับเด็กปฐมวัยมีหลากหลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง กระดานขายของ บอร์ดติดผลงาน ตู้เก็บของ ที่แขวนถ้วย ที่แขวนผ้าเช็ดหน้า ที่เก็บเครื่องนอน ห้องน้ำ ห้องส้วม ที่ล้างมือ ประตู หน้าต่าง สื่อ เครื่องเล่น เป็นต้น
       2. วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น ครุภัณฑ์ ควรให้มีขนาดเหมาะสมกับผู้เรียน
       3. การจัดพื้นที่ในห้องเรียนควรจัดให้เหมาะสม เลือกที่ตั้งครุภัณฑ์ อุปกรณ์ต่างๆ และมุมประสบการณ์ โดยคำนึงถึง
      - ทิศทางลมเหมาะสม และแสงสว่างเพียงพอต่อการทำกิจกรรม
      -มีแสงแดดส่องเหมาะสม ไม่รบกวนสายตาเด็กขณะปฏิบัติกิจกรรม
      - สร้างบรรยากาศให้ร่มรื่น
      - ทุกจุดของห้องควรให้มองเห็นได้โดยรอบ
      - จัดวาง/ตั้ง ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ ที่สะดวกต่อการปฏิบัติกิจกรรม

       4. สภาพแวดล้อมในห้องควรมีความปลอดภัย โดย
       - พื้นห้องควรโล่ง กว้าง มีบริเวณนุ่ม มีบริเวณที่ตั้งอุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น
       - ตรวจความเรียบร้อยของวัสดุ อุปกรณ์ สื่อและเครื่องเล่นหากชำรุดต้องรีบซ่อมแซมโดยเร็ว
      - กำหนดขอบเขตของมุมประสบการณ์ให้เด็กรู้
      - หน้าต่าง ครุภัณฑ์ต่างๆ ไม่ควรทำด้วยกระจก
       - ดูแลบริเวณทั่วไปให้ปลอดภัยจากสัตว์ แมลง พืช และสารเคมีที่มีพิษ
       - ครุภัณฑ์ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่ควรเป็นมุมแหลมที่เป็นอันตราย
      5.การจัดแสดงผลงานและการเก็บของ ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
      - จัดให้มีที่แสดงผลงานเสนอภาพเขียน หรืองานหัตถกรรมเด็กๆ
      - จัดที่แสดงให้น่าสนใจและสดชื่น
      - ให้เด็กเห็นของแปลกๆ ใหม่ๆ ที่เด็กไม่เคยเห็น
      - ส่งเสริมให้เด็กๆ รู้จักเลือกสรรว่าจะทำอะไร จัดแสดงอะไร ฯลฯ
      - กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น
      - สอนให้รู้จักจัดของเป็นกลุ่ม และเลือกของออกมาใช้ตามความต้องการ
      - สร้างนิสัยในการเก็บของให้เป็นที่เป็นทาง
       6. โต๊ะเก้าอี้ควรสามารถโยกย้ายได้และควรมีขนาดพอเหมาะกับตัวเด็ก มีความสะดวกในการทำความสะอาดและใช้งานได้ง่าย


            

กิจกรรมที่ 8



ครูในอุดมคติ


        ครูในอุดมคติของข้าพเจ้าจะต้องมีความเมตตากรุณา รัก หวังดี ศิษย์ทุกคนโดยเท่าเทียมกันมีความยุติธรรม เที่ยงตรง เสียสละ มีจรรยาบรรณ ความเป็นครู กล่าวคือมีจิตวิญญาณความเป็นครู ที่สำคัญต้องมี ความรู้ ความสามารถ ในศาสตร์วิชาที่จะสอนด้วย เข้าใจศิษย์ถึงความแตกต่างของศิษย์แต่ละคน เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกันไปครูที่ดีจึงต้องพิจารณานักเรียนแต่ละคนเป็นรายบุคคลไป ใช้เหตุผลในการสอนไม่ใช้อารมณ์ตัวเองเป็นใหญ่ มีความสุภาพอ่อนโยน แต่งตัวสุภาพ หน้าตาแจ่มใส่  นอกจากจะสอนให้นักเรียนรู้ในศาสตร์วิชาที่จะเรียนแล้วยังจะต้องสอนคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย เพื่อให้นักเรียนเป็นทั้งคนที่มีความรู้ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมๆกัน เป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองต่อไป

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้

บทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        การสอนให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์จะช่วยให้นักเรียน รู้จักการให้เหตุผล การแก้ปัญหา การเชื่อมโยงปัญหา ทำให้นักเรียนสามารถให้เหตุผลในเรื่องต่างๆได้ สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในระดับชาติ ซึ่งการสอนให้นักเรียนรู้จักคิดนี้  เป็นกระบวนการคิดที่ต้องใช้ในการดำเนินชีวิตจริงในสังคม ทักษะชีวิต การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีประโยชน์กว่าการสอนให้นักเรียน ท่องแล้วจำ แต่ไม่สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้เหตุผลที่มาที่ไปบทสรุปของเนื้อหาได้ เพราะการเรียนการสอนที่นักเรียนไม่สามารถ คิดได้ เมื่อนักเรียนไปเจอปัญหา ที่แตกต่างไปจากเดิม ก็ไม่สามารถ แก้ปัญหานั้นได้

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
       ในการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ การให้เหตุผล การเชื่อมโยงเหตุผล เป็นการเรียนการสอนที่ต้องอาศัยทักษะด้านคณิตศาสตร์และเนื้อหาในบางเรื่องของคณิตศาสตร์ก็จะเป็นเรื่องของการคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผลอย่าง เช่น ในเรื่อง ความน่าจะเป็น การเรียงสับเปลี่ยน การเปลี่ยนกลุ่ม การแก้โจทย์ปัญหา เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีที่มาที่ไปของทุกๆ ปัญหา  ทุกอย่างเดินเนินการไปอย่างมีเหตุและผล สามารถพิสูจน์ได้ การสอนที่ทำให้นักเรียนรู้จักคิดจึง สอดแทรกอยู่ในเนื้อหาคณิตศาสตร์ทุกเนื้อหาอยู่แล้ว
    
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร 
        ในการออกแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในอนาคตที่จะทำให้นักเรียนได้มีทักษะกระบวนการในการคิด ได้นั้นเราซึ่งเป็นครูผู้สอนจะต้องฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตั้งแต่ปัญหาเล็กๆ จนไปถึงปัญหาที่มีความยากมากกว่าเดิม ในการสอนคณิตศาสตร์เราก็ต้องฝึกให้นักเรียนคิดหลายๆรูปแบบที่แตกต่างไปจากวิธีการที่เราสอน เพราะการที่จะได้มาซึ่งคำตอบทางคณิตศาสตร์นั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่จำเป็นต้องทำตามแบบแผนเสมอไป แต่เราสามารถเปิดโอกาสให้นักเรียนคิด หาวิธีการได้ด้วยตนเอง อย่าง เช่น  ให้ปัญหานักเรียนไปหนึ่งข้อ แล้วบอกผลเฉลยของปัญหา แล้วให้นักเรียนลองหาวิธีการที่จะได้มาซึ่งผลเฉลยของปัญหาด้วยตนเอง การทำเช่นนี้ก็จะทำให้นักเรียนสามารถคิดได้ด้วยตนเอง และมีวิธีการแต่แตกต่างกันไปของนักเรียนแต่ละคนในชั้นเรียน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนคิดเองได้ คิดเป็น ทำเป็น  ประยุกต์ ใช้ได้ เชื่อมโยงได้

ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงเป็นครูของแผนดิน เพราะท่านทรงสอนประชาชนของท่านในทุกๆเรื่อง ดังตัวอย่างโครงการมากมายที่ท่านได้ทรงคิดขึ้นมานอกจากท่านจะคิดแล้วท่านยังทำให้ดูอีกด้วย ทรงทำให้เห็นว่าการเป็นครูนอกจากการเรียนการสอนนอกชั้นเรียนแล้ว การทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง การให้นักเรียนได้เห็นเนื้อหาของวิชาที่แท้จริง โดยการทำให้ดูรวมถึงการฝึกให้นักเรียนคิดด้วยตนเองคิดได้คิดเป็น นอกจากนี้การเป็นครูที่ดีจะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย รวมถึงเปิดใจกว้างยอมรับความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความรู้ก้าวหน้า ทันกับสภาพแวดล้อมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในความพอดีพอเพียงด้วย

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
          ในการเรียนการสอนนอกจากจะสอนแต่วิชาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนแล้ว เราต้องฝึกให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ต้องสอนนักเรียนให้ครบทุกๆด้าน ทั้งเนื้อหาในวิชาที่เรียน เนื้อหาในชีวิตทักษะการใช้ชีวิต เป็นตัวอย่างที่ดีให้นักเรียน ทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง เช่น การสอนในเรื่องการวัดการตวง เราก็ต้องให้นักเรียนได้ลองปฏิบัติได้ด้วยตนเอง นำสิ่งที่ได้ไปใช่ในการเดินเนินชีวิตการประกอบอาชีพได้
     
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร 
       ในการออกแบบการเรียนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดนี้ ครูผู้สอนจะต้องออกแบบการสอนที่สามารถเชื่อมโยงได้ทุกๆด้าน สามารถนำวิชาคณิตศาสตร์ไปประยุกต์เชื่อมโยงในการใช้ชีวิตได้ ตัวอย่าง เช่น  การเรียนเรื่องอัตราส่วน ก็ต้องให้นักเรียนประยุกต์ใช้ได้จริง มีการตั้งคำถาม ว่าที่บ้านนักเรียนมีพื้นที่เท่าไร มีการปลูกอะไรบ้าง แต่ละอย่างปลูกเป็นกี่ส่วนของพื้นที่ทั้งหมดและเพียงพอต่อความต้องการของคนในครอบครัวหรือไม ถ้าไม่ควรปลูกอะไรเพิ่ม เพิ่มหรือลดอะไร เป็นกี่ส่วน เรื่องต้องออกแบบพื้นที่ใหม่เป็นกี่ส่วนอย่างไรให้มีความพอดี และเป็นการใช้พื้นที่อย่างคุ่มค่าที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7


กิจกรรมที่ 7
โทรทัศน์ครู

 สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน

       สอนคณิตศาสตร์เรื่องร้อยละ เปอร์เซ็น การลดราคา
       คุณครูผู้สอนชื่อ คุณครูบริสุทธิ์ธรรม พิมพ์ศิริ
       ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่5

เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
       สอนคณิตศาสตร์โดยใช้เรื่องการลดราคาที่พบเห็นอยู่ในชีวิตประจำวันทุกวันเวลาที่ไปซื้อของตามห้างสรรพสินค้า จะเห็นป้ายลดราคาอยู่ จะอธิบายถึงความหมายของร้อยละ และสอนให้เทียบบัญญัติไตรยางค์เข้ามาช่วยในการแก้โจทย์

จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
ด้านสติปัญญา=IQ                                                                                                                        
       นักเรียนมีความรู้เรื่องการลดราคา  ร้อยละ เปอร์เซ็น เศษส่วน  อธิบายความหมายของร้อยละ สามารถนำความรู้ เรื่องการลดราคามาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงๆในการซื้อสินค้า  ตามห้างสรรพสินค้าได้
อารมณ์=EQ
      นักเรียนมีอารมณ์แจ่มใส่เกิดความสนุกสนานในการเรียน ไม่เครียด มีอารมณ์ร่วมในการเรียนการสอนทำให้การสอนดำเนินไปได้ด้วยดี
คุณธรรมจริยธรรม=MQ
        นักเรียนมีความร่วมมือในการจักการเรียนการสอนมีส่วนรวมในการทำกิจกรรม มีน้ำใจช่วยเหลือกันในการตอบคำถาม การทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน

 บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
       การจัดโต๊ะนั่งจะจัดเป็นกลุ่มให้นักเรียนนั่ง เรียนเป็นกลุ่ม ห้องเรียนโล่งสบาย มีมุมหนังสือ
มุมนั่งเล่น มุมจัดบอร์ด ทุกอย่างถูกจัดเป็นสัดส่วน


กิจกรรมที่ 6

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5

ครูที่ชอบ



ประวัติ


ชื่อ นายสุริยา โนนเสนา 
เกิดวันที่ 16 มีนาคม 2512
เป็นบุตรของคุณพ่อคำภา  โนนเสนา   คุณแม่ทอง โนนเสนา
มีพี่น้อง 5 คน
     1.นายสุริยา  โนนเสนา   ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งควายพัฒนศึกษา
ศษ.ม.การบริหารการศึกษา
     2.นายสุรสิทธิ์  โนนเสนา  รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลโนนศิลา กำลังศึกษาต่อปริญญาโท
     3.นายพรลิขิต  โนนเสนา  ประกอบอาชีพส่วนตัว
     4.นางอริสรา แสงพันธ์ตา   โรงเรียนบ้านหันศิลางาม 
     5.นางสาวอัจฉรา  โนนเสนา   ทำงานครูศุนย์พิริยา-นาวิน
กรุงเทพมหานคร


ประวัติการศึกษา

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
       โรงเรียนบ้านหัน (โรงเรียนบ้านหันศิลางาม)      อ.โนนศิลา     จ.ขอนแก่น
จบชั้นมัยมศึกษาปีที่ 6
        โรงเรียนบ้านไผ่ (ข.ก.5)       อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
จบการศึกษาปริญญาตรี
        วิชาเอกเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษา
        วิขาโท ภูมิศาสตร์ วิทยาลัยครูอุดรธานี 
        คุณวุฒิสูงสุด ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
        วิชาเอก การบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยรามคำเเหง

ประวัติการทำงาน

 การรับราชการ
      16 พฤศจิกายน 2536 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านท่าโป่ง สปจ.ชัยภูมิ
      1 ตุลาคม 2539 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านท่าโป่ง สปจ.ชัยภูมิ
      23 มกราคม 2541 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สปจ.ชัยภูมิ
      1 ตุลาคม 2542 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สปจ.ชัยภูมิ
      1 เมษายน 2546 อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สปจ.ชัยภูมิ
      7 กรกฎาคม 2546 อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สพท.ชัยภูมิ เขต 3
      23 มี.ค.2548- 3พ.ย.2548      ช่วยราชการโรงเรียนสังวาลย์วิท 7
                                         อำเภอบางขัน สพท.นศ.2
     1 พฤศจิกายน 2547         อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านควนประ สพท.นศ.2
      24 ธันวาคม 2547          ครู คศ. 2 โรงเรียนบ้านควนประ
     1 กุมภาพันธ์ 2549         ครู คศ. 2 โรงเรียนบ้านควนประ
     16 สิงหาคม 2549 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองปีกเหนือ
                               / ชำนาญการ คศ. 2
     29 สิงหาคม 2551 ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ / คศ. 2
     1 ตุลาคม 2551      ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ /  คศ. 2
    1 เมษายน 2552     ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ /  คศ. 2
    28 กันยายน 2552 ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ / 
                                คศ. 3 ชำนาญการพิเศษ
     3 พฤศจิกายน 2553 ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งควายพัฒนศึกษา
                                 คศ.3 ชำนาญการพิเศษ

ผลงานที่ชอบ

      ได้รับรางวัลครูคณิตศาสตร์ดีเด่น

การประยุกต์ใช้ 

       ทำให้เรามีเเรงจูงใจในการที่จะเป็นครูคริตศาสตร์ที่ดี จนได้รับรางวัลเหมือนอาจารย์ผู้สอนตัวอย่าง  สามารถเอาเเนวคิดหลักการทำงานของท่านมาใช่ในการสอนนักเรียนต่อไปเมื่อจบการศึกษาออกมาเป็นครู